อุปดิศร์ ปาจรียางกูร
หน้าตา
อุปดิศร์ ปาจรียางกูร | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 22 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 | |
นายกรัฐมนตรี | ธานินทร์ กรัยวิเชียร เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
ก่อนหน้า | พิชัย รัตตกุล |
ถัดไป | สิทธิ เศวตศิลา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2463 |
เสียชีวิต | 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 (91 ปี) |
พรรคการเมือง | พรรคชาติประชาธิปไตย |
คู่สมรส | อภิรา ปาจีรยางกูร |
บุตร | อุปกิต ปาจรียางกูร |
อุปดิศร์ ปาจรียางกูร[1] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 3 สมัย[2][3][4] ต่อจากพิชัย รัตตกุล ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ถึง 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 ผู้ดำรงตำแหน่งคนต่อไปคือพลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา ในสมัยของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร และเป็นเอกอัครราชทูตแห่งราชอาณาจักรไทยประจำสมาพันธรัฐสวิส ต่อจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 ถึง พ.ศ. 2516 ผู้ดำรงตำแหน่งคนต่อไปคือพลตรี หม่อมราชวงศ์สังขดิศ ดิศกุล[5]
อุปดิศร์ ปาจรียางกูร หรือ ดร.อุปดิศร์ ปาจรียางกูร เคยร่วมก่อตั้งพรรคการเมืองกับพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในปี พ.ศ. 2525 และได้รับตำแหน่งที่ปรึกษาพรรคชาติประชาธิปไตย[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2521 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2520 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2513 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สายตรงจากต่างแดน 30/08/52 - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๗ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-29.
- ↑ thaiembassybern อัครราชทูต/ เอกอัครราชทูตแห่งราชอาณาจักรไทยประจำสมาพันธรัฐสวิส พ.ศ. 2475 -ปัจจุบัน (2553)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 99 ตอนที่ 154 วันที่ 20 ตุลาคม 2525
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔, ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๘๐, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓